วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประกาศรับสมัครงาน พนักงานขายขนมหวาน

ประกาศรับสมัครงาน
ตำแหน่ง พนักงานขายขนมหวาน
คุณสมบัติ รักการบริการ มีใจรักในการขาย
เพศ ชาย หญิง อายุ 20-25 ปี
การศึกษา ม.6-ปริญญาตรี
รายได้ 8500 - 10000

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

คุณรู้จักขนมหวานของไทยหรือยัง

   ขนมไทย   เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี  เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ       ตั้งแต่วัตถุดิบ  วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน    ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม   รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน   ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง  นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ  งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย  ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง   ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด   ตลอดจนลักษณะที่กลมกลืนกัน แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอ  ขนมหวานไทย   จะมีความหวานนำ หรือมีความหวานจนรู้สึกในลิ้นของผู้รับประทานการทำขนมหวานไทยป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและฝึกฝน  ต้องใช้ศิลปะ  วิทยาศาสตร์และความอดทน  และความเป็นระเบียบ  ความพิถีพิถันในการประกอบ ขนมไทยแท้ ๆ  ต้องมีกลิ่นหอม หวาน มัน  มีความประณีต  ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การเตรียมส่วนผสม จนกระทั่งวิธีการทำ ขนมไทย สามารถจัดแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ   ได้ตามลักษณะของเครื่องปรุง   ลักษณะกรรมวิธีในการทำ   และลักษณะการหุงต้ม คือ

           1.
ขนมประเภทไข่ เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา ฯลฯ
           2.
ประเภทนึ่ง เช่น ขนมชั้น ขนมสาลี่ ขนมน้ำดอกไม้ ขนมทราย ฯลฯ
           3.
ขนมประเภทต้ม เช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มันต้มน้ำตาล ฯลฯ
           4.
ขนมประเภทกวน เช่น ขนมเปียกปูน ซ่าหริ่ม ขนมตะโก้ ฯลฯ
           5.
ขนมประเภทอบและผิง เช่น ขนมดอกลำดวน ขนมบ้าบิ้น ขนมหน้านวล ฯลฯ
           6.
ขนมประเภททอด เช่น ขนมกง ขนมฝักบัว ขนมสามเกลอ ฯลฯ
           7.
ขนมประเภทปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง ขนมจาก ฯลฯ
           8.
ขนมประเภทเชื่อม เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ฯลฯ
           9.
ขนมประเภทฉาบ เช่น เผือกฉาบ กล้วยฉาบ มันฉาบ ฯลฯ
            10. ขนมประเภทน้ำกะทิ เช่น เผือกน้ำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ ฯลฯ
         11.
ขนมประเภทน้ำเชื่อม เช่น ผลไม้ลอยแก้ว วุ้นน้ำเชื่อม ฯลฯ
         12.
ขนมประเภทบวด เช่น กล้วยบวดชี แกงบวดเผือก ฯลฯ            13. ขนมประเภทแช่อิ่ม เช่น มะม่วงแช่อิ่ม มะเขือเทศแช่อิ่ม สะท้อนแช่อิ่ม ฯลฯ\


วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขนมหวานของไทย

ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆเชื่อว่าหลายๆ คนคงต้องรู้จักและได้รับประทาน "ขนมไทย" มาตั้งแต่ตอนเด็กๆ "ขนมไทย" แต่ยังคงมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่าขนมไทยมงคล ที่ใช้ในงานแต่งงานมีอะไรบ้าง ดังนั้น กระปุกเวดดิ้งจึงจะพาคู่บ่าวสาว (มือใหม่) ไปทำความรู้จักกับ "ขนมไทย" มงคลในงานแต่งงานกันดีกว่าแต่ก่อนที่จะไปรู้จักขนมไทยในงานแต่งงาน กระปุกเวดดิ้งจะพาเพื่อนไปรู้จักความหมายและที่ไปที่มาของขนมไทยกันก่อน 

          "ขนมไทย" เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยมานับพันปี ถือเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติซึ่งอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน ในสมัยก่อนขนมไทยจะทำเฉพาะเวลามีงานเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในงานเทศกาล งานประเพณี งานประเพณี งานทางศาสนา หรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพราะผูกพันกับประเพณีและวัฒนธรรมไทยเพื่อใช้ในงานประเพณีและงานมงคล ทั้งนี้ ขนมในงานมงคลก็มักมีชื่ออันเป็นมงคลและมีความหมายไปในทางที่ดี 

          โดยเฉพาะชื่อขนมที่มีคำว่า "ทอง" ประกอบ คนไทยเราถือว่าทองเป็นของดีมีมงคล ซึ่งการที่นำขนมที่มีคำว่า "ทอง" มาใช้ในงานมงคลก็เพื่อที่จะได้มีบุญกุศลมีเงินมีทอง มีลาภยศ สรรเสริญ สมชื่อขนมนั่นเอง


วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มีนนี่ขนมหวาน

ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ